คอเลสเตอรอล คืออะไร
  • 17 กรกฎาคม 2020 at 14:56
  • 19979
  • 0

คอเลสเตอรอล คืออะไร

คอเลสเตอรอล คือไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อที่นำไปใช้ในกระบวนการสร้างเซลล์ต่างๆ แต่หากมีระดับคอเลสเตอรอลมากเกินไปจะมีความเสี่ยง ทำให้เกิดโรค เพราะคอเลสเตอรอลจะไปเกาะบริเวณผนังหลอดเลือดทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่

§  คอเลสเตอรรอลชนิดที่ดี (High-Density Lipoprotein: HDL) ทำหน้าที่ในการนำคอเลสเตอรอลส่วนเกินจากเซลล์กลับไปยังตับ เพื่อทำลายหรือขับออกในรูปของเสียจากร่างกาย

§  คอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) ทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอลไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย หากมีมากกว่าที่เซลล์ต้องการก็จะไปสะสมที่บริเวณผนังหลอดเลือด เป็นชนิดที่อันตรายและส่งผลร้ายต่อสุขภาพได้

 

 

 ขอบคุณภาพ http://ko-detoxblood.lnwshop.com/

 

คอเลสเตอรอล ได้มาจากไหนบ้าง

คอเลสเตอรอล เกิดจากตับของร่างกายเราสร้างขึ้น โดยทั่วไปตับจะสร้างคอเลสเตอรอลได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และส่วนหนึ่งจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ถ้ารับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงเป็นนิสัย ก็อาจเกิดโทษต่อสุขภาพได้จากคอเลสเตอรอลส่วนเกินที่สะสมอยู่ในร่างกายโดยเฉพาะในหลอดเลือด

 

ระดับคอเลสเตอลชนิดที่ไม่ดี (LDL Cholerterol)

§  ปกติ: น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

§  ใกล้เคียงปกติ: 100-129 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

§  สูงเล็กน้อย: 130-159 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

§  สูง: 160-189 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

§  สูงมาก: มากกว่า 190 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

 

ระดับคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol)

§  ปกติ: น้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

§  สูงเล็กน้อย: 200-239 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

§  สูง: มากกว่า 240 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

 

ระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี (HDL Cholesterol)

§  ต่ำ: น้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

§  สูง: มากกว่า 60 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

 

การปรับพฤติกรรม
1. คุมอาหาร ลดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์มาก ได้แก่ ขนมอบ หรือเบเกอรีที่มีมาการีนเป็นส่วนประกอบ ครีมเทียม อาหารอบ อาหารทอด ขนมกรุบกรอบต่างๆ
2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ทำให้ไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง) งดสูบบุหรี่ (ทำให้ไขมันดีลด)
4. รักษาอารมณ์และจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด

 

สมุนไพร ตัวช่วยลดไขมันในเลือด

1. น้ำมันรำข้าว
มีไขมันดี อย่างโอเมก้า 3 ช่วยร่างกายเผาผลาญไขมัน ลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ มีโอเมก้า-6 ช่วยร่างกายเผาผลาญไขมัน รักษาความเต่งตึงของผิวขณะลดความอ้วน
มีงานวิจัยใช้น้ำมันรำข้าวในหนูทดลอง ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็น ไขมันพอกตับ ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease) พบว่าน้ำมันรำข้าวช่วยลดไขมันในเลือด ทั้งคอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันตัวร้ายแอลดีแอล และยังช่วยเพิ่มไขมันดี HDL ลดค่าเอนไซม์ตับที่อักเสบลงได้ และมีผลพยาธิสภาพตับอักเสบ
ลดลง

2. ขมิ้นชัน
นอกเหนือจากฤทธิ์ที่โดดเด่นในการต้านออนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและต้านมะเร็งแล้ว มีงานวิจัยพบว่าสารเคอร์คูมิน ในขมิ้นชัน 15 มิลลิกรัมต่อวัน มีผลลดระดับไขมันชนิดไม่ดีและไขมันรวม อีกทั้งยังช่วยเพิ่มระดับไขมันชนิดดี ในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
วิธีกินที่แนะนำ วันละ 2-4 แคปซูลต่อวัน

3.ขิง
การใช้ขิง น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 กรัมต่อวัน มีผลลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ เฉลี่ย 17.59 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และไขมันตัวร้าย LDL 4.90 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และขิงยังช่วยเผาผลาญไขมัน มีส่วนช่วยในการควบคุมน้ำหนัก
วิธีกินที่แนะนำ น้ำขิงวันละ 1-2 ถ้วยชา หรือครั้งละ 1 แคปซูล หลังอาหาร 3 มื้อ

4. กระเทียม
งานวิจัยทางคลินิกว่า การรับประทานกระเทียมสดประมาณ 4 กรัม (10 - 15 กลีบเล็ก) ต่อวัน ช่วยลดไขมันและความดันโลหิตได้

อย่างไรก็ตามเราควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปกับพร้อมการออกกำลังกายนะคะ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของเราเองค่ะ

 

บทความโดย พท.ประภัสรา สีใสยา (แพทย์แผนตะวันออกผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร)